แนวคิด
พวกเราทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า พวกเราอยู่ในครอบครัวที่ยิ่งใหญ่ครอบครัวเดียวกัน
ล. ล. ซาเมนฮอฟ
อันที่จริง ลุดวิก ซาเมนฮอฟ ผู้ประดิษฐ์ภาษา Lingvo Internacia มีจุดประสงค์ที่ว่าอยากจะให้ภาษาเอสเปรันโตเป็นเครื่องมือแรกสำหรับสันติภาพของมนุษยชาติ ซึ่งเขายืนยันว่าภาษาเอสเปรันโตนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของแนวคิดที่ตอนแรกเขาให้ชื่อว่า Hilelismo และต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Homaranismo โดยจุดประสงค์ก็คือการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ ซึ่งสิ่งแรกที่จำเป็นก็คือการสร้างประชาชนที่มีความเป็นกลางที่แบ่งแยกกันโดยทางภูมิศาสตร์และการเมือง แต่ไม่แบ่งแยกกันจากภาษาและศาสนา
ในเดือนเมษายน ปี 1901 ซาเมนฮอฟ ได้นำเสนอแนวคิดสำหรับชาวยิว แนวคิดของเขานั้นมีชื่อว่า Hilelismo ในปี 1886 ซาเมนฮอฟปฏิเสธแนวทางของขบวนการไซออนิสต์ อย่างไรก็ตามเขายังมีความรักในชาติกำเนิดของเขา แม้ว่าในยุโรปตะวันออกนั้นสถานการ์จะมีแต่แย่ลงเรื่อย ๆ สำหรับภาพรวมของแนวคิด Hilelismo นั้นก็คือ "สิ่งใดที่ตัวท่านเองไม่ชอบ ก็จงอย่าไปทำกับผู้อื่น" ซึ่งนั้นหมายความว่าทุกคนจะต้องคิดว่าเรานั้นเป็นส่วนหนึ่งของสังคมทั้งหมด อย่างไรก็ตามผู้ที่สนับสนุนแนวคิดนี้ก็ยังคงมีไม่มาก คนก็ไม่ชอบกับแนวคิดนี้เพราะเหตุที่ว่าเป็นแนวคิดที่สุดโต่งเกินไป
ระหว่างการเผชิญต่อการต่อต้านแนวคิด Hilelismo ซาเมนฮอฟได้หยุดการเคลื่อนไหวในระยะหนึ่งเพื่อสำหรับการกลับมาอีกครั้งกับแนวคิดเดิมในอีกหลายปีต่อมา หลังจากกนั้นก็เป็นยุคสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1904 ต่อจากนั้นก็เกิดการปฏิวัติรัสเซียครั้งที่ 1 ซึ่งสำหรับการปฏิวัติในครั้งนี้ทำให้ซาเมนฮอฟตระหนักถึงภาษากลางที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเจรจาสื่อสารถึงความคิดเห็นระหว่างกัน ภาษาสากลเป็นเครื่องมือสื่อสารที่จะสามารถแก้ไขปัญหาในหลาย ๆ ด้าน แต่ทว่าสงครามและการปฏิวัติพลักดันให้ซาเมนฮอฟไปสู่ก้าวที่สองซึ่งจะเป็ฯหนทางไปสู่สนติภาพระหว่างมนุษยชาติ และนั้นก็เป็นสิ่งที่ทำให้เขาต้องมาเคลื่อนไหวกับแนวคิด Hilelismo โดยที่แนวคิดนี้จะต้องมีการปรับปรุง และแนวคิดนี้จะไม่ใช่เพื่อชาวยิวแต่เพียงอย่างเดียว
ในนิตยสาร Ruslanda Esperantisto ฉบับเดือนมกราคม (1906) เขาได้ลงบทความ “Dogmoj de Hilelismo” (หลักการของ Hilelismo) ในภาษารัสเซียและเอสเปรันโต โดยไม่ระบุชื่อผู้เขียน ต่อมาซาเมนฮอฟเข้าใจว่าชื่อของบทความมีความเป็นยิวมากเกินไป และคำนำก็มีความเป็นรัสเซียมากเกินไป ดังนั้นเองในเดือนมีนาคมซาเมนฮอฟได้เขียนหนังสือชื่อ Homaranismo โดยที่มีการระบุไว้ในคำนำว่าแนวคิด Hilelismo นั้นเกี่ยวข้องกับหนึ่งชนชาติ แต่ Homaranismo นี้เกี่ยวข้องกับคนทุกชนชาติและทุกศาสนา โดยที่ในหนังสือจะมีเนื้อหาประกอบไปด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน ชนชาติ เชื้อชาติ และมนุษยชาติ จากเนื้อหาทั้งหมดสิบสองย่อหน้านี้ก็คือแนวทางของแนวคิดที่ซาเมนฮอฟได้คิดขึ้น ถ้าหากขบวนการไซออนิสซม์ใช้กระบวนทัศน์แบบเก่าที่พยายามให้พูดถึงชาวยิวเหมือนกับที่พูดถึงชาวฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย หรือกับชาติอื่น ๆ หากเป็นเช่นนั้นซาเมนฮอฟได้ให้ความเห็นว่าก็คงเป็นการที่เราลืมไปว่ายังคงมีชาวยิว ชาวฝรั่งเศส ชาวเยอรมัน ชาวรัสเซียอยู่ ซึ่งด้วยเหตุนี้ซาเมนฮอฟจึงเรียกร้องให้ไม่พิจารณาว่าเราแต่ละคนเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งที่เป็นของศาสนา ภาษา หรือชนชาติ แต่ให้พิจารณาว่าทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน
นี่คือหลักการสี่ข้อแรก ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญที่สุด
- ข้าพเจ้าคือมนุษย์ และสำหรับข้าพเจ้าแล้วมีเพียงแต่มนุษยอุดมคติเท่านั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าอุดมคติอื่น ๆ และจุดมุ่งหมายที่ไปในแนวทางของชาติพันธุ์ว่าเป็นความเห็นแก่ตัวและความเกลียดชังมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องหายไปในไม่ช้านี้ โดยที่ข้าพเจ้าต้องเร่งทำให้เกิดขึ้นตามความสามารถของข้าพเจ้า
- ข้าพเจ้าเชื่อว่าประชากรทุกคนมีความเสมอภาคกัน และข้าพเจ้าปฏิบัติต่อมนุษย์แต่ละคนตามคุณวุฒิและวัยวุฒิเท่านั้น แต่จะไม่ปฏิบัติต่อพวกเขาตามชาติกำเนิด ข้าพเจ้าเห็นว่าการเหยียดหยามและการไล่ล่ามนุษย์จากชาติกำเนิด ภาษา หรือศาสนาที่ต่างออกไป เป็นเพียงความป่าเถื่อนของพวกไร้วัฒนธรรม
- ข้าพเจ้าเชื่อว่า แต่ละประเทศมิได้เป็นของชนชาติใดชนชาติหนึ่ง แต่เป็นของผู้ที่อยู่อาศัยทุกคนไม่ว่าจะพูดภาษาหรือนับถือศาสนาใดก็ตาม ข้าพเจ้าเห็นว่าการมีอยู่รวมกันของความสนใจในประเทศกับความสนใจของชนชาติใดชนชาติหนึ่ง ผู้ที่พูดภาษาใดภาษาหนึ่ง หรือผู้ที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง เป็นเพียงสิ่งที่หลงเหลืออยู่จากในยุคของความป่าเถื่อนที่มีแต่ดาบกับกำปั้น
- ข้าพเจ้าเชื่อว่า ในครอบครัวมนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์อย่างสมบูรณ์ อย่างธรรมชาติ อย่างไม่มีข้อถกเถียงที่จะใช้ภาษาหรือภาษาถิ่นใดก็ได้ที่เขาต้องการ หรือจะนับถือศาสนาใดก็ได้ตามที่เขาต้องการ หากแต่ในการสื่อสารกับผู้ที่มาจากต่างถิ่น เขาจะต้องใช้ภาษาที่มีความเป็นกลางตามที่จะเป็นไปได้ และใช้ชีวิตตามวิถีปฏิบัติของศาสนาที่เป็นกลาง ข้าพเจ้าเห็นว่าการที่จะให้มนุษย์แต่ละคนบังคับในเรื่องของภาษาหรือศาสนาต่อมนุษย์คนอื่น เป็นเพียงความป่าเถื่อนของพวกไร้วัฒนธรรม
ซาเมนฮอฟตั้งใจจะประกาศถึงแนวคิด Homaranismo ในการประชุมใหญ่ภาษาเอสเปรันโตที่เจนีวา (1906) และจะสร้างกลุ่มของผู้สนับสนุนที่นั้น แต่มีบางคนโน้มน้าวไม่ให้ซาเมนฮอฟอ่านส่วนที่สองของเรื่องที่จะไปบรรยาย ซึ่งในนั้นระบุถึงแนวคิดแฝงของภาษาเอสเปรันโต (interna ideo) และ Homaranismo ซึ่งซาเมนฮอฟเองก็ยอมที่จะไม่อ่าน เขาเองก็ทราบดีว่าผู้ใช้ภาษาเอสเปรันโตยังไม่พร้อมที่จะรับ Homaranismo และแนวคิดการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษย์ แม้แต่ผู้ที่ใกล้ชิดซาเมนฮอฟเองก็พยายามโน้มน้าวไม่ใช้เขานำภาษาเอสเปรันโตไปเชื่อมโยงกับศาสนา ดังนั้นซาเมนฮอฟถึงหลีกเลี่ยงการพูดถึง Homaranismo ในที่สาธารณะแต่จะพูดแนวคิดภายในที่คลุมเคลือแทน ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนสำหรับ Homaranismo และในปี 1912 ซาเมนฮอฟได้นิยามถึงแนวคิดภายในว่า:
แนวคิดของภาษาเอสเปรันโต ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่มีการบังคับสำหรับผู้ใช้ภาษาเอสเปรันโตแต่อย่างใด หากแต่ว่าอย่างที่ท่านทราบ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงไม่ว่าจะเป็นในการประชุมครั้งไหน ๆ ก็คือ หลักพื้นฐานทางภาษาที่มีความเป็นกลางที่มีจุดประสงค์เพื่อที่จะทำลายกำแพงระหว่างชาติพันธุ์ต่าง ๆ และทำให้มนุษย์ทุกคนเข้าใจว่าผู้คนทั้งหลายนั้นเป็นมนุษย์และพี่น้องเช่นเดียวกัน สิ่งใดที่อยู่นอกเหนือจากแนวคิดของภาษาเอสเปรันโตนี้ สิ่งนั้นจะเป็นเพียงแนวคิดส่วนบุคคลเท่านั้น ซึ่งอาจจะสามารถอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดที่กล่าวมาได้ แต่จะไม่มีวันที่จะมองว่าแนวคิดนั้นเป็นแนวคิดหลักได้เลย
ซาเมนฮอฟนั้นเกิดและเรียนในรัสเซียที่ขณะนั้นมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ซึ่งเขาไม่ทราบเลยว่าในฝรั่งเศส เยอรมัน หรือประเทศยุโรปตะวันตกอื่น ๆ แทบจะไม่มีปัญหาทางด้านความหลากหลายทางภาษาหรือแม้แต่ทางศาสนาที่ไม่ได้มีบทบาทมากเช่นแต่ก่อน และจาการที่ซาเมนฮอฟสนใจแต่ปัญหาทางด้านภาษาและศาสนา เขาจึงแทบจะไม่สนใจปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ หรือด้านจิตวิทยา เขาคิดว่าการแบ่งแยกและความเกลียดชังทางเชื้อชาติไม่ได้เกิดจากการเมือง เศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ ร่างกาย ความคิด หรือแหล่งกำเนิด แต่เกิดจากความแตกต่างระหว่างภาษาและศาสนา ดังนั้น "การแบ่งแยกและความเกลียดชังทางเชื้อชาติจะหายไปจากมนุษยชาติก็ต่อเมื่อมนุษยชาติมีหนึ่งภาษาและหนึ่งศาสนา"
ภาษาเอสเปรันโตเป็นเครื่องมือทำลายกำแพงภาษา ส่วนซาเมนฮอฟเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาด้านศาสนา ในปี 1913 เขาได้เสนอให้มีการจัดการประชุมศาสนาที่มีความเป็นกลางของมนุษย์ที่กรุงปารีสซึ่งจะสัมพันธ์การจัดการประชุมใหญ่ภาษาเอสเปรันโตสากล (1914) ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่เป็นเช่นปกติคือ เขาไม่ต้องการที่จะพูดกับผู้ที่เชื่อว่าศาสนาของตนเป็นศาสนาที่แท้จริงซึ่งพระเจ้าได้ประทานมา แต่ต้องการที่จะพูดกับพวกเสรีนิยม หรือพวกที่ละทิ้งความเชื่อจากศาสนาของบิดามารดา จากหลักการสี่ข้อของเขา ในสามข้อมีความเป็นหลักศาสนา Homaranismo ส่วนข้อที่สี่เกี่ยวข้องกับวิธีการจัดการ
ปลายปี 1914 ซาเมนฮอฟได้เขียนข้อเรียกร้องไปยังนักการทูต "หลังสงครามโลก" และได้ส่งไปยังบรรณาธิการที่เป็นผู้ใช้ภาษาเอสเปรันโต เพื่อจะได้มีการตีพิมพ์ในภาษาเอสเปรันโตพร้อมกับภาษาอื่น ๆ ด้วย เขารับรู้ได้ว่าหลังจากสงครามแล้วนักการทูตจะมีการเขียนแผนที่ยุโรปใหม่ และจะเสนอให้มีการก่อตั้งสหรัฐยุโรป เป็นที่ทราบดีว่าสิ่งนั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้ แต่อย่างน้อยซาเมนฮอฟขอให้มีการเสนอและการการันตีต่ออาณาจักรในยุโรปด้วยหลักการ “Ĉiu lando morale kaj materiale plene egalrajte apartenas al ĉiuj siaj filoj”
อย่างไรก็ตามซาเมนฮอฟก็ไม่ล้มเลิกแนวคิด Homaranismo สองเดือนก่อนที่เขาจะจากโลกไปเขาได้เขียนรูปแบบสุดท้ายของแนวคิด Homaranismo ซึ่งประกอบด้วยคำนำและข้อหลักการ สำหรับในคำนำนั้นเขาได้อธิบายคือความแตกต่างระหว่างเอสเปรันโตนิยม (Esperantismo) กับ Homaranismo อย่างชัดเจน และคำอธิบายใหม่ของหลักการ
ภายใต้ชื่อ “Homaranismo” (…) ข้าพเจ้าขอพูดถึงความพยายามต่อสิ่งที่เรียกว่า "ความเป็นมนุษย์" (homeco) หรือความพยายามการทำลายความเกลียดชังหระว่างเชื้อชาติ ความอยุติธรรม และความยามต่อแนวทางการดำเนินชีวิตที่จะสามารถนำไปสู่การร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทาจิวิญญาณของมนุษยชาติ ซึ่งไม่ใช่แค่ทางทฤษฎี แต่เป็นไปในทางปฏิบัติ
เป็นที่น่าสังเกตว่า แนวคิดของซาเมนฮอฟนั้นไม่ได้กล่าวถึง "มนุษย์จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันในความเป็นมนุษยประชาชาติที่มีความเป็นกลาง" ซึ่งมีอยู่ในหนังสือฉบับแรก แต่กล่าวถึง "ความพยายามไปสู่การรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทางจิตวิญญาณของมนุษยชาติ"
ในการวิเคราะห์หนังสือทั้งสี่ฉบับ (Hilelismo 1906, Homaranismo 1906, Homaranismo 1913, Homaranismo 1917) เราสังเกตได้ว่าซาเมนฮอฟมักจะกล่าวถึงปัญหาว่าเด้วยเรื่องของภาษาไม่มากนัก และภาษาเอสเปรันโตก็ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในฉบับปี 1913 และ 1917 ซึ่งฉบับ 1917 ไม่มีการกล่าวถึงภาษากลางเลย นั้นแสดงให้เห็นว่าจุดประสงค์ของเขาได้เปลี่ยนไป ข้อเสนอ universala propono ในข้อแรก (Hilelismo 1906) ให้ความสนใจเกี่ยวกับชาวยิวรัสเซีย แต่ต่อมาก็ได้ถูกละทิ้งไป ในรูปแบบสุดท้ายของ Homaranismo ซาเมนฮอฟไม่ได้มีจุดประสงค์เผยแพร่แนวคิดให้กับผู้ที่พูดภาษาเอสเปรันโต แต่ต้องการเผนแพร่ไปยังทั่วโลก และก็ไม่ได้ต้องการใช้ภาษาเอสเปรันโตในการเผนแพร่แต่เป็นภาษาชาติต่าง ๆ ที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก
การพยายามไปสู่ความเป็นมนุษย์ และการทำลายความเกลียดชังหระว่างเชื้อชาติ และการรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทางจิตวิญญาณของมนุษยชาติ เป็นแนวคิดที่ทั่ว ๆ ไปมากว่าแนวคิดการรวมเป็นหนึ่งของภาษาและศาสนา ในหลักการสำคัญของ Homaranismo (ในรูปแบบสุดท้าย: ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ท่านต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน) ไม่ได้เป็นไปในหลักการทางศาสนา แต่เป็นเรื่องศีลธรรม ความพยายามสู่ความเป็นมนุษย์และการนำหลักการดังกล่าวไปใช้ (อาจหมายถึง "ความอดทนอดกลั้น" — ที่กล่าวไว้เป็นนัยแต่ไม่ได้เขียนไว้โดยตรง) สามารถจูงใจผู้ที่ใช้ภาษาเอสเปรันโตหรือผู้ที่เคร่งศาสนาได้ไม่มาก เท่ากับกลุ่ม "หัวก้าวหน้า" ทั่ว ๆ ไป ที่ไม่ได้มองว่าปัญหาด้านภาษาและศาสนาเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
สองสามสัปดาห์ก่อนที่ซาเมนฮอฟจะจากโลกไปเขาได้เขียนบทความสุดท้ายที่มีชื่อว่า Pri Dio kaj pri senmorteco (พระเจ้าและความเป็นอมตะ) ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าเขาเองจะทราบว่าผู้ที่เชื่อในแนวคิดนี้อาจจะก่อให้เกิดการวิพากย์วิจารณ์อย่างนัก บทความชิ้นนี้เป็นชิ้นสุดท้าย (ซึ่งไม่สมบูรณ์) มี่เป็นงานเขียนในแนวอุดมคติ ในนั้นเขียนไว้ว่าเขา "ทำสมาธิอย่างหนักและอ่านตำราวิทยาศาสตร์และปรัชญาหลายเล่ม" แต่เราก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าสิ่งที่เขาเขียนนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
ซาเมนฮอฟจากไป แต่ยังคงเหลือลูก ๆ ของเขา (ทุกคนถูกฆาตกรรมโดยนาซีในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง) ภาษาเอสเปรันโต สิ่งที่ได้มอบไว้ให้กับโลก ผลงานแปลต่าง ๆ และแนวคิดของเขายังคงสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่มีความคิดว่าเขาไม่ได้เป็นเพียงสมาชิกของชนชาติหรือศาสนาของตนเอง แต่เป็นสมาชิกมนุษยชาติ — ผู้ที่เชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวกันในความแต่กต่างที่มีอยู่
แหล่งที่มา
- Korĵenkov A. Homarano: La vivo, verkoj kaj ideoj de d-ro Zamenhof, Kaliningrado, Kaunas, 2009
- Privat E. Vivo de Zamenhof , Rikmansworth, 1957
- https://eo.wikipedia.org/wiki/Interna_ideo
- Korĵenkov A. Zamenhof. Biografia skizo, Kaliningrado, Kaunas, 2010
- https://eo.wikipedia.org/wiki/Homaranismo
- https://eo.wikipedia.org/wiki/Hilelismo